กัญชาทางการแพทย์ สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทย กัญชามีคุณสมบัติที่สำคัญ สำหรับเป็นส่วนประกอบในตำรับแพทย์ยาแผนไทยที่มีอายุยาวนานมากกว่า 200 ปี แม้ว่าตามตำรากัญชาทางการแพทย์ในอดีตจะมีทั้งที่เป็นแบบใช้เป็นสมุนไพรเดี่ยวๆ และสมุนไพรในรูปแบบของการปรุงเพื่อการเข้าเป็นส่วนประกอบในตำรับยานั้นเอง
กัญชาทางการแพทย์แผนไทยไม่มีเอ้าท์
กัญชาทางการแพทย์ตะวันตก ค้นพบความสอดคล้องว่าแท้จริงแล้วศาสตร์กัญชาทางการแพทย์แผนไทยสามารถใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรค และห้ามใช้กัญชารักษาโรคบางประเภทด้วยเช่นเดียวกัน เราจะพาเพื่อนๆไปดูกันดีกว่า ดีกว่า ว่าตำรับยาใดบ้างยาที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบซึ่งมีข้อห้ามและข้อควรระวังในการรักษาโรคชนิดไหนกันบ้าง
โรคที่ห้ามใช้กัญชาข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้ตำรับยาตำรับยากัญชาทางการแพทย์
- ตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย โรคแผลเปื่อยเพปติก คือ การที่เยื่อบุด้านในของกระเพาะอาหารแตก หรือในส่วนแรกของลำไส้เล็กแตก หรือในหลอดอาหารเกิดเป็นแผลเปื่อยภายในกระเพาะ ผู้ป่วยที่เป็นโรคกรดไหลย้อน โรคหัวใจ และผู้ที่มีอาการโรคความดันโลหิตสูง ทั้งหมดนี้จึงควรระวังในผู้ป่วย
เนื่องจากส่วนประกอบของกัญชาเมื่อปรุงกับตัวยาชนิดอื่นๆ เช่น สหัศคุณเทศ, ขิง, ดีปลี, กระวาน, พริกไทย,กานพลู, ดอกจันทร์, ลูกจันทน์ ทำให้มีรสร้อน เกิดผลข้างเคียงทำให้มีอาการแสบร้อนท้อง แสบร้องบริเวณหน้าอก
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับเลือด และกำลังรับประทานยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ต้องควรระมัดระวังตัวตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย ซึ่งส่งผลต่อความเสี่ยงของการเกิดเลือดออก จ้ำเลือดตามผิวหนัง จากตำรับยาส่วนประกอบของกัญชา กับสมุนไพรอื่นๆ เช่น โกศเชียง, โกศสอ, กระเทียม, ดีปลี, โสม, พริกไทย
ข้อควรระวังในการใช้ตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย
- หญิงตั้งครรภ์ หากได้รับยากัญชาทางการแพทย์ ส่งผลต่อความเสี่ยงตกเลือด แท้ง การคลอดก่อนกำหนด หรืออาจรุนแรงต่อสภาวะครรภ์เป็นพิษ จนส่งผลทำให้แม่มีความดันโลหิตสูง และเด็กทารกในครรภ์มีพัฒนาการช้ากว่าตามปกติ และในที่สุดอาจส่งผลรุนแรงต่อแม่และเด็กในครรภ์ทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
- มารดาที่ให้นมบุตร หากได้รับยากัญชาทางการแพทย์ จากการที่ต้องรักษาโรคอื่นๆ ส่งผลให้มีแนวโน้นที่จะเกิดความเสี่ยงต่อทารกอย่างรุนแรง ทำให้ทารกมีพัฒนาการทางสมองล่าช้า มีความผิดปกติทางอารมณ์ ตลอดจนแขนขนลีบและอาจเสียชีวินได้ในที่สุด
- เด็กและเยาวชน ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี การที่เด็กได้รับกัญชาทางการแพทย์ จากการที่ต้องรักษาโรคอื่นๆโดยที่ไม่ได้อยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางแล้ว มักจะเกิดผลลัพธ์ข้างเคียง ทำให้เด็กๆมีอาการง่วงซึม เหนื่อยง่าย รู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนแรง อยากพักผ่อนมากกว่าการลุกไปทำกิจกรรมต่างๆ
- นอกจากนี้ยังสามารถพบความผิดปกติที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของหัวใจ ระบบการหายใจ และในบางรายอาจรุนแรงไปจนถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิตได้ในที่สุด เนื่องจากระบบทางเดินหายใจหยุดทำงานจากการถูกกดการทำงานของระบบต่างๆภายในร่างกาย เนื่องจากสารสกัดจากกัญชามีฤทธิ์ที่ค่อนข้างรุนแรง
การใช้ตำรับยา กัญชาทางการแพทย์ แผนไทยควรปรึกษาแพทย์ แพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสามารถนำกัญชาไปใช้ได้อย่างถูกต้อง มีความปลอดภัย และที่สำคัญตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทยต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อเข้าใจในรายละเอียดต่างๆของยา ตลอดจนข้อห้าม ข้อควรระวังของตำรับยา กัญชาทางการแพทย์ แผนไทยที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบด้วยนั้น
อ่านบทความ แนะนำ 10 ร้าน ก๋วยเตี๋ยวกัญชาในกรุงเทพ สายเขียวห้ามพลาด